นักวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรืออาจรู้จักกันดีในชื่อ เอไอ โดยใช้แสงแทนกระแสไฟฟ้าในการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์
การค้นพบวิธีการใหม่จะช่วยปรับปรุงทั้งความเร็วและประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลเครือข่ายประสาทเทียม หรือ ทีพียู ของระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นรากฐานของระบบเอไอที่จำลองการทำงานของสมองมนุษย์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้รับด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมจากมนุษย์
ทีพียูที่ใช้กันในปัจจุบันสำหรับระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์จะถูกจำกัดอยู่ที่พลังกระแสไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน โดยการประมวลผลยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่าใดความต้องการกำลังกระแสไฟฟ้าก็มากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนั้นประสิทธิภาพและความเร็วของการประมวลผลยังจะถูกกำจัดอยู่ที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้าระหว่างทีพียูและหน่วยความจำ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตันในสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบว่า การใช้โฟตอนภายในทีพียูจะสามารถกำจัดข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ซึ่งจะทำให้เอไอทรงพลังและประหยัดพลังงานมากขึ้น
ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร the scientific journal Applied Physics Reviews แสดงให้เห็นว่า หน่วยประมวลเครือข่ายประสาทเทียม หรือ ทีพียูที่ใช้โฟตอนนั้นสามารถประมวลผลได้เร็วกว่าหน่วยประมวลทีพียูที่ใช้กระแสไฟฟ้าอยู่มาก
ผู้ทำวิจัยกล่าวว่า ทีพียูที่ใช้โฟตอนจะทำให้ระบบสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมหาศาล และปรับปรุงเวลาของการตอบสนองในการประมวลผลได้อย่างมาก แอพพลิเคชั่นเชิงพาณิชย์ที่เป็นไปได้สำหรับทีพียูใหม่ได้แก่ การประมวลผลภายในเครือข่าย 5G และ 6G รวมถึงการประมวลผลภายในศูนย์ข้อมูลที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ